ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลสุขภาพ: หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic aneurysm)  (อ่าน 146 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 258
    • ดูรายละเอียด
เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดบางส่วนมีความอ่อนแอ ถูกแรงดันเลือดดันให้โป่งออกคล้ายลูกโป่ง พบมากในกลุ่มอายุ 50-80 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า

ผนังหลอดเลือดส่วนที่โป่งพอง ส่วนใหญ่มักเกิดในส่วนที่อยู่ในช่องท้องในระดับที่ต่ำกว่าจุดแยกของหลอดเลือดแดงไต (renal artery) เรียกว่า "หลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysm)" ส่วนน้อยเกิดในส่วนที่อยู่ในช่องอกใกล้หัวใจ เรียกว่า "หลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนอกโป่งพอง (thoracic aortic aneurysm)"


สาเหตุ

ส่วนใหญ่เนื่องจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ส่วนน้อยอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ การอักเสบ (aortitis) ซิฟิลิส หรือกลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrome ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ทำให้เนื้อเยื่อมีความอ่อนแอ) ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติสูบบุหรี่


อาการ

ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง มักตรวจพบโดยบังเอิญขณะแพทย์ทำการตรวจร่างกายด้วยสาเหตุอื่น ๆ

สำหรับผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง บางรายอาจรู้สึกมีอะไรเต้นอยู่ในท้อง (บริเวณใต้สะดือ) หรือมีอาการปวดลึก ๆ ที่หลัง

สำหรับผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนอกโป่งพอง อาจรู้สึกมีอาการเต้นในทรวงอกหรือปวดหลังด้านบน หากมีขนาดโตอาจเบียดกดอวัยวะข้างเคียง ทำให้มีอาการไอ หรือมีเสียงวี้ด (กดถูกหลอดลม) ไอเป็นเลือด (หลอดลมกร่อน) กลืนลำบาก (กดถูกหลอดอาหาร) หรือเสียงแหบ (กดถูกประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียง)


ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าหลอดเลือดที่โป่งพองมีขนาดมากกว่า 5 ซม. อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแตก มีเลือดตกในจนเกิดภาวะช็อกถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการแรกเริ่มถ้าเกิดในช่องท้องจะมีอาการปวดรุนแรงที่ท้องน้อยและหลัง และมีอาการกดเจ็บ ถ้าเกิดในช่องอกจะมีอาการปวดรุนแรงที่หลังด้านบนและแผ่ลงด้านล่าง อาจมีอาการเจ็บหน้าอกและแขนคล้ายโรคหัวใจขาดเลือด ต่อมาจะมีภาวะช็อก คือ เหงื่อออก ตัวเย็น ซีด ชีพจรเต้นเร็ว ความดันต่ำ

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะลิ่มเลือด (thrombosis) เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง และหลุดลอยไปอุดกั้นหลอดเลือดอื่น ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดได้

ผู้ป่วยโรคนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ตามมาได้

ข้อมูลสุขภาพ: หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic aneurysm) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/expert-scoops

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google