ผู้เขียน หัวข้อ: ออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน  (อ่าน 499 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 353
    • ดูรายละเอียด
เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้อายุที่มากขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือทำให้ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ความสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน คือ ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ เช่น อาการชาที่ปลายเท้า ตามองเห็นไม่ชัด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงปลายเท้าตีบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งต้องสูญเสียอวัยวะ

บางส่วน นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย ดังนั้นการรักษาเบาหวานจึงประกอบไปด้วย การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม การใช้ยาลดน้ำตาล และออกกำลังกาย

สำหรับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังมากกว่าในวัยอื่นๆ เนื่องจากเป็นวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าวัยอื่น การทรงตัวที่อาจทำได้ไม่ดีเท่ากับวัยอื่น ที่สำคัญผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เช่น โรคความดันโลหิต ที่อาจเพื่มสูงขึ้นเมื่อออกกำลังกาย จึงต้องควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติก่อน นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

    ทำให้ร่างกายใช้กลูโคสได้ดีขึ้น มีปฏิกิริยาต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ลดขนาดอินซูลินที่จะใช้ หรือในบางรายที่ระดับน้ำตาลไม่สูงสามารถงดการให้อิซูลินได้
    ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงแข็ง เพราะช่วยลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด
    ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานในผู้ป่วยโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
    คลายความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น


ข้อควรระวังและข้อควรปฎิบัติในการออกกำลังกาย

    ปรึกษาแพทย์ และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด
    ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ สำหรับการออกกำลังกายนอกบ้าน
    ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย
    งดการออกกำลังกายถ้าระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 250 mg/dl ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 และไม่เกิน 300 mg/dL ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
    ถ้าระดับน้ำตาลต่ำกว่า 90 mg/dl ให้รับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ก่อนออกกำลังกายครึ่งชั่วโมง
    งดการออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด โดยปรึกษาทีมผู้รักษา
    หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดอินซูลินอย่างน้อง 1 ชั่วโมง เนื่องจากอิซูลินจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเร็วเกินไป
    ตรวจน้ำตาลก่อน และหลังออกกำลังกาย
    ตรวจดูว่ามีบาดแผลที่เท้า หรือการอักเสบอื่นๆ หรือไม่
    เลือกรองเท้าให้เหมาะสม และใส่ถุงเท้าทุกครั้ง
    ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดผลร่วมกับการปรับขนาดยาอินซูลิน และอาหารอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
    ควรออกกำลังกายในเวลาเดียวกันในแต่ละวัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลขึ้นๆ ลงๆ
    หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากเกินไป ในบางรายอาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้โดยเฉพาะท่าที่ต้องกลั้นหายใจ


ออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google