เคยพักโรงแรมแล้วได้ยินเสียงจากห้องข้าง ๆ กันไหมครับ หรือแม้แต่เสียงคนเดินผ่าน เสียงแม่บ้านที่กำลังทำความสะอาดห้องข้าง ๆ มลพิษทางเสียงเหล่านี้ บ่งชี้ให้เห็นชัดว่า “โรงแรมดังกล่าวไม่ได้มีมาตรการป้องกันเสียงใด ๆ ให้ผู้พักผ่อนเลย” สิ่งที่ตามมาคือความไม่พึงพอใจของผู้เข้าพัก นั่นอาจหมายถึงคะแนนของการรีวิวที่ต้องตกอันดับ และส่งผลไปถึงยอดจองของผู้เข้าพักในอนาคตอีกด้วยครับ
หากเป็นบ้านพักอาศัยทั่วไป เราสามารถป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีก่ออิฐ 2 ชั้น หรือติดตั้งฉนวนกันเสียงเพิ่มเติมภายหลัง แต่วิธีเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับอาคารขนาดใหญ่หรือมีห้องหลาย ๆ ห้อง เพราะน้ำหนักของผนังอาจส่งผลให้โครงสร้างแบกรับน้ำหนักมากเกินจำเป็น เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” แนะนำให้รู้จักกับ “ระบบผนังกันเสียง” เป็นผนังที่ติดตั้งง่ายกว่าการก่ออิฐถึง 5 เท่า ที่สำคัญมีคุณสมบัติป้องกันเสียงในตัว
ผนังกันเสียง สำคัญอย่างไร
เสียงรบกวน ไม่เพียงแค่สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งคุณภาพในการพักผ่อน โดยเฉพาะสถานที่ที่เน้นความสงบเป็นพิเศษ อาทิ ห้องพักโรงแรม ห้องประชุม ห้องสัมมนา และโรงพยาบาล เป็นต้น การออกแบบสถานที่เหล่านี้จึงไม่เพียงแค่มีอาคารให้ใช้งานเท่านั้น แต่ห้องต่าง ๆ ต้องมีคุณสมบัติป้องกันมลพิษทางเสียงได้ด้วย
ซึ่งค่ากันเสียงหรือค่าประสิทธิภาพของการป้องกันเสียง (STC : Sound Transmission Class) เป็นคลาสของ “วัสดุ” ที่มีคุณสมบัติต้านทานการส่งผ่านของเสียงจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ยิ่งค่า STC มีมากเท่าไร “ระบบกั้นเสียงของห้องนั้น ๆ มีประสิทธิภาพในการกันเสียงได้ดีมากเท่านั้น” ซึ่งแต่ละอาคาร หรือห้องกิจกรรมมีมาตรฐาน STC ที่แตกต่างกัน ดังนี้
โรงแรม ห้องพัก ต้องมีค่าการกั้นเสียง หรือค่า STC อย่างน้อย 55-66 ซึ่งต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมทางเสียงในบริเวณนั้นประกอบด้วย เพื่อสร้างความสงบผ่อนคลายให้แก่ผู้เข้าพักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือหากภายในโรงแรมมีห้องสปาก็สามารถใช้ค่า STC ในระดับเดียวกันได้
ห้องประชุม ห้องสัมมนาทั่วไป ภายในห้องต้องการค่า STC ของวัสดุผนังอย่างน้อย 46 แต่สำหรับสถานที่ที่มีห้องสัมมนาไว้บริการรองรับผู้คนเข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก มีเครื่องขยายเสียงภายในห้อง ต้องการค่า STC 60 ขึ้นไป
เพราะนอกจากจะป้องกันเสียงเล็ดลอดเข้ามาแล้ว ยังป้องกันไม่ให้เสียงดังออกนอกห้องด้วยครับ สำหรับห้องประเภทนี้นั้น มีอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือวัสดุการดูดซับเสียง ซึ่งจะช่วยลดเสียงสะท้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมให้ดียิ่งขึ้น
โรงพยาบาลหรือคลินิก สำหรับค่า STC ในส่วนของโรงพยาบาลหรือคลินิกอาจแบ่งตามพื้นที่การใช้งาน เช่น ห้องโถงบริเวณไว้นั่งรอเรียกคิวหรือทางเดิน ต้องมีค่า STC อย่างน้อย 40 , ห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องส่องกล้อง ห้องแลป ต้องการค่า STC 50 ขึ้นไป , ห้องฉุกเฉิน ต้องการค่า STC 65 ขึ้นไป และห้องพักของผู้ป่วย ต้องการค่า STC อย่างน้อย 45 เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
5 จุดเด่นของระบบผนังกันเสียง
ระบบผนังเบากันเสียงที่รองรับการใช้งานหลากหลาย สามารถติดตั้งเป็นผนังบริเวณโถงทางเดิน หรือผนังกั้นห้องต่อเติมก็ได้ โดยมี 5 คุณสมบัติเด่น ดังต่อไปนี้
1.บางกว่า แต่กันเสียงได้ดีกว่าผนังก่อฉาบ
ส่วนประกอบ แข็งแรงถึง 4 ชั้นด้วยกัน ทั้งหมด 4 ชั้นนี้มีความหนาเพียง 9.8 ซม. เท่านั้น แต่มีประสิทธิภาพการกันเสียงมากกว่าผนังก่อฉาบ มีค่ากันเสียงอย่างน้อยที่ 53 สามารถกันเสียงได้เทียบเท่ากับผนังก่อฉาบที่มีความหนา 20 ซม. (ค่า STC ประมาณ 52) และยังสามารถออกแบบให้มีค่า STC ได้สูงถึง 66 จึงครอบคลุมกับการใช้งานทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น คอนโดมิเนียม, ห้องพักในโรงแรม, ห้องสัมมนา, โรงพยาบาล หรือใครจะนำมาใช้ร่วมกับบ้านพักอาศัยทั่วไปก็สามารถทำได้ครับ
ฉนวนกันเสียง: รู้จักระบบผนังกันเสียง ติดตั้งไวกว่าผนังก่อฉาบ 5 เท่า อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/